วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การเพาะเห็ดนางฟ้า 5 บท

บทที่ 1 บทนำ
1.1.แนวคิด ที่มา และความสำคัญ

จากการกำหนดหัวข้อรายงาน เรื่องภูมิปัญญาชาวบ้านดิฉันและเพื่อนๆคิดว่าเราน่าจะศึกษาภูมิปัญญาชาวบ้านที่เกี่ยวกับการเกษตรและพวกเราจึงนำภูมิปัญญาชาวบ้านเรื่องการเพาะเห็ดมานำเสนอ เนื่องจากการเพาะเห็ดเป็นการนำภูมิปัญญาชาวบ้านกับวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เข้าด้วยกันและผลผลิตที่ได้สามารถนำมาทำเป็นอาหารได้หลายเมนู แถมการเพาะเห็ดยังเพิ่มรายได้ให้กับชาวบ้านหรือคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี
1.2.วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาการเพาะเห็ดนางฟ้าโดยภูมิปัญญาชาวบ้าน 2. เพื่อฝึกทักษะอาชีพให้กับนักเรียนและสามารถนำไปประกอบอาชีพเสริมในอนาคตได้
3. เพื่อสำรวจศึกษาภูมิปัญญาชาวบ้านในหมาบ้านต่างๆ
1.3.ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.ได้รู้วิธีการเพาะเห็ดนางฟ้า
2.ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเห็ดนางฟ้า
1.4.ขอบเขตการศึกษา
เราจะศึกษาแค่การเพาะเห็ดการทำโรงเพาะเห็ดและขั้นตอนการทำก้อนเห็ด




บทที่ 2
เอกสารอ้างอิงที่เกี่ยวข้อง

2.1.ความสำคัญของเพาะเห็ดนางฟ้า
การเพาะเห็ดนางฟ้าเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านอย่างหนึ่งเนื่องจากการเพาะเห็ดสามารถเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้เพาะและยังสามารถนำมาประกอบอาหารภายในครัวเรือนได้การเพาะเห็ดส่วนใหญ่ในหมู่บ้านนิยมทำกันเป็นโรงขนาดเล็กเพื่อสำหรับการประกอบอาหารในครัวเรือนเท่านั้นม่นิยมทำเป็นโรงขนาดใหญ่เพื่อการค้าขายโดยเฉพาะ2.2.ข้อมูลเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีของการเพาะเห็ดนางฟ้า
การเพาะเห็ดจะต้องใช้น้ำเชื้อในการเพาะที่สำคัญในขณะที่ทำการเพาะต้องล้างมือด้วยแอลกอฮอล์และห้ามฉีดน้ำหอมหือทาแป้งฝุ่นเพาะเห็ดแพ้ และในการเพาะเห็ดควรอยู่ในที่ที่มีความชื้นและอาการถ่ายเทสะดวก โรงเพาะเห็ดควรทึบแสงแต่ต้องมีแสงผ่านเล็กน้อยและควรมีความชื้น
2.3.ความรู้เกี่ยวกับเห็ดนางฟ้า
2.3.1.เห็ดนางฟ้า เห็ดนางฟ้ามักจะพบตามธรรมชาติบริเวณตอไม้เนื้ออ่อนที่กำลังผุ ในแถบเมืองแจมมู บริเวณเชิงเขาหิมาลัย มีรูปร่างลักษณะคล้ายคลึงกับเห็ดนางรม และเห็ดเป๋าฮื้อ แต่จะมีสีอ่อนกว่า และมีครีบอยู่ชิดกันมากกว่า ด้านบนของดอกจะมีสีนวลๆ ถึงสีน้ำตาลอ่อน ดอกเห็ดนางฟ้าจะมีขนาดตั้งแต่ 5-14 เซ็นติเมตร และจะมีน้ำหนักอยู่ระหว่าง 30-120 กรัมเห็ดนางฟ้ามีรูปร่างลักษณะคล้ายคลึงกับเห็ดนางรม เห็ดทั้งสองชนิดนี้จัดอยู่ในวงศ์ (family) เดียวกัน ชื่อ เห็ดนางฟ้าเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นในเมืองไทย คนไทยบางคนเรียกว่าเห็ดแขก เนื่องจากมีผู้พบเห็นเห็ดนี้ครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย พบขึ้นตามธรรมชาติบนตอไม้เนื้ออ่อนที่กำลังผุ ในแถบเมืองแจมมู (Jammu) บริเวณเชิงเขาหิมาลัย ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Pleurotussajor-caju (Fr.) Singer
เห็ดนางฟ้าถูกนำไปเลี้ยงในอาหารวุ้นเป็นครั้งแรกโดย Jandaikในปี ค.ศ. 1947 ต่อมา Rangaswamiและ Nadu แห่ง Agricultural University, Coimbattoreในอินเดียเป็นผู้นำเชื้อบริสุทธิ์ของเห็ดนางฟ้าเข้ามาฝากไว้ที่American Type Culture Collection (ATCC) ในอเมริกาเมื่อปี ค.ศ. 1975 ได้ทราบว่าประมาณปี ค.ศ. 1977 ทางกองวิจัยโรคพืช กรมวิชาการเกษตร เป็นผู้นำเชื้อจาก ATCC เข้ามาประเทศไทยเพื่อทดลองเพาะดู ปรากฏว่าสามารถเจริญได้ดีอีกสายพันธุ์หนึ่ง เป็นเห็ดที่มีผู้นำเข้ามาจากประเทศภูฐาน มาเผยแพร่แก่นักเพาะเห็ดไทย ได้มีการเรียกชื่อเห็ดนี้ว่า เห็ดนางฟ้าภูฐาน มีหลายสายพันธุ์ซึ่งชอบอุณหภูมิที่แตกต่างกัน บางพันธุ์ออกได้ดีในฤดูร้อน บ้างพันธุ์ออกได้ดีในฤดูหนาว เป็นที่นิยมมาเพาะเป็นการค้ากันมากลักษณะของดอกเห็ดนางฟ้า มีลักษณะคล้ายกับดอกเห็ดเป๋าฮื้อ และดอกเห็ดนางรม เมื่อเปรียบเทียบกับเห็ดเป๋าฮื้อ ดอกเห็ดนางฟ้าสีจะอ่อนกว่า และมีครีบอยู่ชิดกันมากกว่า เห็ดนางฟ้าสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นนานได้หลายวัน เช่นเดียวกับเห็ดเป๋าฮื้อ เนื่องจากเห็ดชนิดนี้ไม่มีการย่อตัวเหมือนกับเห็ดนางรม ด้านบนของดอกจะมีสีนวลๆ ถึงสีน้ำตาลอ่อน ในอินเดียดอกเห็ดมีขนาดตั้งแต่ 5 – 14 เซนติเมตร และจะมีน้ำหนักอยู่ระหว่าง 30 – 120 กรัม เห็ดนางฟ้ามีรสอร่อย เวลานำไปปรุงอาหารจะมีกลิ่นชวนรับประทาน เห็ดชนิดนี้สามารถนำไปตากแห้ง เก็บไว้เป็นอาหารได้ เมื่อจะนำเห็ดมาปรุงอาหาร ก็นำไปแช่น้ำเห็ดจะคืนรูปเดิมได้
2.3.2.เห็ดนางฟ้าภูฏาน
เห็ดนางฟ้าภูฏาน หรือ เห็ดนางรมภูฏาน (อังกฤษ: Indian Oyster, Phoenix Mushroom, หรือ Lung Oyster) เป็นเห็ดในตระกูลเห็ดนางรม รับประทานได้มีต้นกำเนิดในประเทศภูฏาน เกิดขึ้นบนต้นไม้เนื้ออ่อนที่ตายแล้ว เจริญเติบโตได้เร็วมาก ถูกนำเข้ามาในประเทศไทย โดย อานนท์ เอื้อตระกูล ขณะที่ดำรงตำแน่งผู้เชี่ยวชาญเห็ดขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ณ ประเทศภูฏาน ชื่อเรียกทั่วไป : เห็ดนางฟ้า , เห็ดแขก
ชื่อสามัญ : Sarjor-caju Mushroom
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pleurotussajor-caju(Fr.) Sing.
ถิ่นกำเนิด : แถบเทือกเขาหิมาลัย ประเทศอินเดีย
สรรพคุณทางยา : ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ลดไขมันในเส้นเลือด
การนำไปใช้ประโยชน์ : ทำแหนมเห็ด , เห็ดชุบแป้งทอด , ต้มยำเห็ด ฯลฯ
คุณค่าทางอาหาร(100กรัม) : ให้พลังงาน 35 กิโลแคลอรี่ (โปรตีน2.3กรัม , ไขมัน 0.3 กรัม , คาร์โบไฮเดรต 5.7 กรัม) 2.3.3.เห็ดนางรม (หรือเรียก"เห็ดนางรมฮังการี")
ก่อนหน้านี้ประมาณ 10 ปี ไม่ค่อยจะรู้จักเห็ดนางรมที่มีชื่อว่าฮังการีซักเท่าใด เพราะไม่ด่อยได้มีนักวิชาการโปรโมท เหมือนเห็ดนางฟ้าภูฐาน แต่ด้วยข้อเสีย ข้อจำกัดของเห็ดนางฟ้าภูฐาน และเห็ดตระกูลนางรม-นางฟ้า สายพันธุ์อื่นๆ ที่มักเฉพาะเจาะจงกับสภาพอากาศเกินไป เช่น บางพันธุ์ออกดอกดีในฤดูร้อน ส่วนบางพันธุ์ชอบฝน ในขณะที่บางพันธุ์ชอบหนาว ทำให้เกษตรกรต้องเดือดร้อนจัดหาเชื้อพันธุ์เห็ดมาเปลี่ยนเพาะ บางทีไม่ทันเปลี่ยนพันธุ์เห็ดเกิดสภาพอากาสเปลี่ยนแปลงกระทันหัน เช่น ฝน เป็น หนาวจัดทันที ใน 1-2 วัน ก็ทำให้เห็ดที่เพาะไว้ เป็นหมื่นๆ ก้อนไม่ออกดอกเอาดื้อๆ เกษตรกรหลายฟาร์มจึงแสวงหาพันธุ์เห็ดที่สามารถเพาะได้ตลอดทั้งปี และเห็ดนางรมฮังการีก็เป็นเห็ดพันธุ์ดีที่เกษตรกรบอกต่อ
ด้วยคุณสมบัติที่ดีหลายประการ ได้แก่ 
1.ทนหนาว (มีสายพันธุ์เดิมมาจากประเทสฮังการีซึ่งเป็นเมืองหนาว) ในขณะที่เห็ดชนิดอื่นๆพักตัว แต่เห็ดฮังการีก็สามารถออกดอกได้ดี และมีสีสวยที่สุดในฤดูนี้ คือมีสีออกน้ำเงิน (จริงๆ)
2.ในฤดูร้อนในขณะที่เห็ดอื่นๆ มีปัญหาเรื่องใบเห็ดม้วนงอ อันเนื่องมาจากการรบกวนของแมลงหวี่ แต่ดอกเห็ดฮังการรี่ก็ยังให้ดอกสวย เพราะใบดอกเล็กจึงไม่หงิกงอ ใบดอกไม่แห้ง และมีนำหนักดีกว่าดอกเห็ดอื่นๆ
3.ในฤดูฝน เป็นช่วงเวลาที่เห็ดอื่นๆออกดอกได้ดี ฮังการีก็ยังออกดอกได้ดี พวงใหญ่เป็นพิเศษ สีขาวบริสุทธิ์ เพียงแต่ต้องลดการรดนำไม่ให้ดอกชื้นเกินไปเพราะเน่าง่าย
4.ลักษณะที่ดีของพวงดอกเห็ดฮังการรีที่ใหญ่ หนึ่งพวงมีมากกว่า 20-30 ดอก ดอกเห็ดแน่น รสชาดหวานเหมือนกินยอดผัก กรอบ นำหนักดี เริ่มเป็นที่นิยมของผู้บริโภคมากขึ้น เก็บในตู้เย็นได้นานเช่นเดียวกับเห็ดนางฟ้า ทนต่อการขนส่งเพราะเหนียว ไม่ช้ำง่าย(เมื่อช้ำใบดอกจะไม่เปลี่ยนเป็นสีนำตาล)
5.เส้นใยเจริญเติบโตไว้ เพียง 25-30 วัน ในก้อนเชื้อเห็ด และพักรอเส้นใยรัดตัว เพียง 5-6 วัน ก็สามารถเปิดดอกได้ หากเกษตรกรมือใหม่ ที่ริเริ่มทำฟาร์มเพาะเห็ด หรือแม้แต่เกษตรกรที่ต้องการลดความเสี่ยงจากการเพาะเห็ดตระกูลนางฟ้า-นางรม ขอแนะนำให้เริ่มต้นที่เห็ดนางรมสายพันธุ์ฮังการีนี้ดีที่สุด








บทที่ 3
วิธีดำเนินงานโครงงาน

3.1.วัสดุ อุปกรณ์ 
3.1.1.ถุงพลาสติดใส 3.1.2.คอขวดพลาสติด3.1.3.ลำสีการเพาะเห็ด 3.1.4.ยางหนัง 
3.1.5.กระดาษหนังสือพิมพ์ 3.1.6.ขี้เลื่อนยางพารา,ฟางข้าว 
3.1.7.รำละเอียด 
3.1.8.เม็ดข้าวฟ่าง 
3.1.9.น้ำเชื้อ 
3.1.10.ยิปซัม
3.2.ขั้นตอนการดำเนินงาน
3.2.1.ข้อมูลการสัมภาษณ์
.ผู้ให้สัมภาษณ์ นาง สมบูรณ์ กลิ่นเผ่น อายุ 35 ปี อาศัยอยู่ บ้านวังแรง หมู่ 5 ต.ดอนคา อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ 
3.2.2.การเพาะเห็ดนางฟ้า
3.2.2.1.ขั้นตอนการเพาะ 1.นำฟางหรือขี้เลื่อนยางพาราใช้ไปในถุงแล้วใส่คอขวด
2.จากนั้นปิดด้วยลำลีเพาะเห็ดตามด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์
3.ใช้ถุงพลาสติดปิดปากและรัดด้วยยางหนัง 
4.นำก้อนเชื้อไปนึ่งโดยใส่ไว้ในถังน้ำมันขนาด 200 ลิตรและใส่ก้อนเห็ดไว้ประมาณถังละ 70 – 80 ก้อนและนำน้ำใส่ไว้ใต้ถังและปิดฝาไว้ 
5.จุดไฟใต้ถังน้ำมันเพื่อนึ่งรอจน 100 องศา หรือน้ำให้ถังเดือดทิ้งไว้ประมาณ 4 ชั่วโมงแล้วเอาไฟออกจากนั้นทิ้งไว้ 1 คืนเพื่อรอให้เย็น 
6.ล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เพื่อหยดเชื้อโดยเปิดลำลีออก
7.นำน้ำเชื้อหยดลงไปแล้วใส่อาหารเชื้อคือเม็ดข้าวฟ่างลงไปและปิดไว้อย่างเดิมและพักเชื้อไว้ในที่อาการเย็นและถ่ายเทเป็นเวลา 1 เดือน 
8.พอได้หนึ่งเดือนเราจึงเปิดปากออกและเขี่ยเมล็ดข้าวฟ่างออกจากนั้นรดน้ำได้เลย และอีก 7 วันจะออกดอก
*หมายเหตุ ฟางจะออกดอกถี่มากกว่าแต่ใช้ได้ไม่นาน ขี้เลื่อนจะออกดอกช้ากว่าแต่ใช้ได้นาน โรงในการทำเห็ดนางฟ้าต้องมีความชื้นมาก เชื้อเห็ดนางฟ้าจะแพ้น้ำหอม
3.2.3.การจัดจำหน่ายเห็ดนางฟ้า
กิโลกรัมละ 80 บาท ราคาส่งอยู่ที่ กิโลกรัมละ 60 บาท การขายโดยส่วนใหญ่จะขายภายในหมู่บ้าน
3.2.4.ประโยชน์ของภูมิปัญญา
เห็ดนางฟ้าสามารถนำไปประกอบอาหารต่างๆ เช่น เห็ดนางฟ้าทอดกรอบ ต้มยำใส่เห็ดนางฟ้า หรือจะผัดก็ได้ และอาหารอื่นๆอีกมากมายที่เห็ดนางฟ้าสามารถนำไปประกอบอาหารได้



บทที่ 4
ผลการดำเนินงานโครงงาน

4.1.ผลการเพาะเห็ดนางฟ้า
การเพาะเห็ดนางฟ้าจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยต่างๆ เช่น อุณหภูมิ น้ำเชื้อ ความชื้น ความสะอาด และระยะเวลา เป็นต้น การใช้ฟางทำจะออกดอกถี่มากกว่าแต่ใช้ได้ไม่นานและมีต้นทุนต่ำ ส่วนการใช้ ขี้เลื่อนจะออกดอกช้ากว่าแต่ใช้ได้นานซึ่งจะมีต้นทุนที่สูงและขี้เลื่อนที่ใช้ต้องเป็นขี้เลื่อนจากไม้ยางพาราส่วนโรงในการทำเห็ดนางฟ้าต้องมีความชื้นมาก เชื้อเห็ดนางฟ้าจะแพ้น้ำหอมควรให้เห็ดอยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทและมีแสงพอดีไม่แจ้งเกินไปและเห็ดนางฟ้าภูฏานจะเหมาะกับการทำต้มเห็ดเนื่องจากมีขนาดใหญ่ ส่วนเห็ดนางฟ้าฮังการีจะเหมาะกับการทอกกรอบเนื่องจากมีขนาดเล็กและคนภาคอีสานจะนิยมเอาเห็ดนางฟ้าไปราบ



บทที่ 5
สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน

5.1.การดำเนินงานจัดทำโครงงาน
5.1.1.วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1.เพื่อศึกษาการเพาะเห็ดนางฟ้าโดยภูมิปัญญาชาวบ้าน 2. เพื่อฝึกทักษะอาชีพให้กับนักเรียนและสามารถนำไปประกอบอาชีพเสริมในอนาคตได้ 
3. เพื่อสำรวจศึกษาภูมิปัญญาชาวบ้านในหมาบ้านต่างๆ
5.2.2.วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ
1.ถุงพลาสติดใส 2.คอขวดพลาสติด3.ลำสีการเพาะเห็ด 4.ยางหนัง 
5.กระดาษหนังสือพิมพ์ 6.ขี้เลื่อนยางพารา,ฟางข้าว 
7.รำละเอียด 
8.เม็ดข้าวฟ่าง
9.น้ำเชื้อ 
10.ยิปซัม

5.2.สรุปผลการดำเนินงาน
การเพาะเห็ดนางฟ้าจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยต่างๆ เช่น อุณหภูมิ น้ำเชื้อ ความชื้น ความสะอาด และระยะเวลา เป็นต้น การใช้ฟางทำจะออกดอกถี่มากกว่าแต่ใช้ได้ไม่นานและมีต้นทุนต่ำ ส่วนการใช้ ขี้เลื่อนจะออกดอกช้ากว่าแต่ใช้ได้นานซึ่งจะมีต้นทุนที่สูงและขี้เลื่อนที่ใช้ต้องเป็นขี้เลื่อนจากไม้ยางพาราส่วนโรงในการทำเห็ดนางฟ้าต้องมีความชื้นมาก เชื้อเห็ดนางฟ้าจะแพ้น้ำหอมควรให้เห็ดอยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทและมีแสงพอดีไม่แจ้งเกินไปและเห็ดนางฟ้าภูฏานจะเหมาะกับการทำต้มเห็ดเนื่องจากมีขนาดใหญ่ ส่วนเห็ดนางฟ้าฮังการีจะเหมาะกับการทอกกรอบเนื่องจากมีขนาดเล็กและคนภาคอีสานจะนิยมเอาเห็ดนางฟ้าไปราบ
5.3.ข้อเสนอแนะ
5.3.1.ข้อเสนอแนะทั่วไป
อยากให้มีการจัดทำโครงงานเกี่ยวกับภูมิปัญญาชาวบ้านด้านการประกอบอาชีพ
5.3.2.ปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการพัฒนา
การรวมตัวกันเพื่อเดินทางไปยังจุดหมายซึ่งนักเรียนบางคนบ้านอยู่ไกลจึงเป็นปัญหาต่อเวลาในการออกเดินทาง

















การเพาะเห็ดนางฟ้า

การเพาะเห็ดนางฟ้า
การเพาะเห็ดนางฟ้า
ปัจจุบันเราจะเห็นว่าเห็ดนางฟ้ามีความต้องการของตลาดเพิ่มมากขึ้น ผู้บริโภคนิยมนำมาทำอาหารเนื่องจากมีสารอาหารมากมายที่จำเป็นต่อร่างกาย
เกษตรกรจึงนิยมในการเพาะเห็ดนางฟ้าเป็นอาชีพเสริม หรือ บางครอบครัวก็ทำเป็นอาชีพหลักสร้างรายได้ให้ครอบครัวได้ เนื่องจากเห็ดมีราคาค่อนข้างดี บางที่ก็รวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจเพื่อสร้างความเข้นแข็งในการสร้างธุรกิจแบบครัวเรือน
แต่อย่างไรก็ตามความรู้ความเข้าใจในการเพาะเห็ดนางฟ้าก็ยังอยู่ในวงที่ค่อนข้างแคบ การหาองค์ความรู้ในส่วนนี้เพื่อที่จะเผยแพร่เทคนิคและ
วิธีการสู่เกษตรกรอาจจะเป็นไปได้ยาก แน่นอนว่าการเพาะเห็ดเมื่อเทียบกับการทำการเกษตรด้านอื่น ๆแล้ว ถือว่าใช้ต้นทุนไม่มากนัก รวมทั้งพื้นที่ที่ใช้ก็น้อย ใช้พื้นที่แค่ไม่กี่ตารางเมตรในการสร้างโรงเรือนเพาะเห็ด แค่นี้เราก็สามารถที่จะทำอาชีพเสริมได้แล้ว









การเพาะเห็ดนางฟ้า

ลักษณะโดยทั่วไปของเห็ดนางฟ้า เห็ดนางฟ้าขึ้นชื่อว่าเป็นเห็ดที่มีลักษณะสวยงาม มีกลิ่นหอม เนื้อแน่น เห็ดนางฟ้าเจริญเติบโตได้ดีในช่วงหน้าร้อน ประมาณเดือนมีนา-เมษา จะออกดอกในพื้นที่มีอากาศชุ่มชื้นและเย็น สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู พร้อมทั้งยังมีสรรพคุณช่วยป้องกันโรคมะเร็ง เนื่องจากสารอาหารจากเห็ดจะช่วยลดไขมันในเส้นเลือดได้ เห็ดนางฟ้า 1 กรัม ให้พลังงาน 300 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย โปรตีน 2.3 กรัม คาร์โบไฮเดรต 5.7 กรัม ไนอะซิน 2.5 มิลลิกรัม ด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย และ สามารถนำไปทำเมนูอร่อย ๆได้หลากหลาย จึงทำให้เห็ดนางฟ้ามีความต้องการของตลาดค่อนข้างมาก










ศีรษะ
ลักษณะของพันธ์ุชิสุ






ต้องกลมโต
กะโหลก
กว้างอย่างสมดุล สีกลางหน้าผากจะต้องขาวเด่น
หน้า
สั้น หน้าผากถึงจมูก ต้นไม่ยาวเกิน 1 นิ้ว
ตา
ตาทั้งสองข้างอยู่ห่างจากกัน สมดุลกัน ดวงตากลมโตสีดำไม่โปน นัยน์ตาแสดงความเป็นมิตรไม่ดุร้าย
จมูก
กว้าง สีดำ ดั้งจมูกมีมุมหักชัดเจน
ปาก
มีขนาดสั้น ปากไม่แหลม ไม่มีรอยย่นของผิวหนังรอบปาก
ฟัน
ต้องขบสนิท เรียบ ฟันล่างขบฟันบนเล็กน้อย ขบแบบเสมอ หรือ UNDERSHOT เล็กน้อย อย่าให้ฟันบนเกยฟันล่างเด็ดขาด
คาง
ไม่ยื่น
ใบหู
ปลาย หูจะมีสีดำ ไม่ว่าหูจะสีอะไรปลายหูจะต้องดำ ต้องยาวกว้างและห้อยลง โคนหูจะอยู่ต่ำกว่าศีรษะส่วนบนเล็กน้อย ขนที่หูหนามากจนดูกลมกลืนไปกับขนที่ต้นหู
คอ
ตั้งตรงยาว ได้สัดส่วนกับลำตัว เชิด ดูสง่างาม
ขน
มีขนสองชั้น ขนชั้นในดก หนา ขนชั้นนอกยาวและแน่น ไม่หยิกเป็นลอน ขนบนศีรษะนิยมมัดเป็นจุก
สีขน
เป็นสีผสมกันของสีดำ น้ำตาล ขาว มีสีขาวเป็นสีพื้น สีใช้ได้ทุกสี สีจะต้องไม่แซมกัน สีต้องเป็นกลุ่มชัดเจน ท้ายทอยขาว
ลำตัว
ต้องมีความยาวของลำตัวมากกว่าความสูงเล็กน้อย ลำตัวบึกบึน กระชับ
อก
กว้างและลึก ไหล่ดูมั่นคงแข็งแรง แผ่นหลังตรงได้สัดส่วน
ขาหน้า
ขา ตรง สั้น กระดูกขาใหญ่ มีกล้ามเนื้อแน่น ขนดกหนา เท้าใหญ่และแข็งแรง ตั้งห่างกันในระยะที่เหมาะสม ข้อศอกใต้อกชิดติดลำตัว มีขนาดสั้น
ขาหลัง
ขาสั้น ขาหลังมีกระดูกใหญ่ เมื่อดูจากด้านหลังจะมีลักษณะตรง มีกล้ามเนื้อ โคนขาอวบกลม ขนขาดกหนา
ท่าเดิน
นิ่มนวล สวยงาม ควรเดินเป็นเส้นตรงในระดับความเร็วที่เหมาะสม ขาหน้าควรก้าวตรงไปข้างหน้า ไม่แกว่งเข้าหรือแกว่งออก และขาหลังดีดสูงขึ้นในระดับที่เท่ากัน ในขณะที่เส้นหลังก็ต้องตรง คอตั้งเชิดและหางพาดกลับมาที่หลัง
เท้า
ขนาดกำลังพอดี มั่นคง ใต้นิ้วเท้าหนา นิ้วติ่งที่อยู่ด้านหลัง มักนิยมตัดออก ส่วนนิ้วติ่งขาหน้าจะตัดออกหรือไม่ก็ได้
หาง
มี ขนขึ้นเป็นพวงสวยงาม หางต้องม้วนพาดกลางหลัง ตั้งตรงและแกว่งไกว ไม่ห้อยลง โคนหางค่อนข้างสูง มีขนยาว ปลายหางต้องมีสีขาวเท่านั้น ระยะจากต้นคอถึงโคนหาง มองดูค่อนข้างมีความยาวกว่าความสูง ซึ่งต้องวัดจากปลายขาถึงต้นคอ
ขนาด
เป็นสุนัขที่มีขนาดเล็ก
น้ำหนัก
4.5 – 7.5 กก. (10 – 16 ปอนด์)
ส่วนสูง
25 – 27 ซม. (10 – 11 นิ้ว)
อายุเฉลี่ย
12 – 14 ปี
การเดิน – วิ่ง
มีความสง่างาม ขณะก้าวขาเหยียดตรง คอเชิด เส้นหลังตรง หางพาดอยู่บนหลัง
การดูแล
ต้อง การความรักและเอาใจใส่มาก ควรเลี้ยงไว้ในห้องปรับอากาศหรือที่ที่มีอากาศเย็น สุนัขพันธุ์นี้ต้องการการแปรงขนทุกวัน ผู้เลี้ยงต้องมีเวลาในการแปรงขนอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง และแปรงขนมากกว่าหนึ่งครั้งต่อวันก็ได้ เพราะถ้าเขาวิ่งออกไปซนนอกบ้าน ขากลับก็จะพกเอาดิน เศษโคลนติดมากับขนด้วย ขนบนหัวควรผู้รวบให้เรียบร้อย เพราะดวงตาโปน อาจบาดเจ็บได้ง่าย ขนที่ก้นและเท้า ต้องตัดให้เรียบร้อยเช่นกันเพื่อความสะอาด
ผู้เลี้ยงที่เหมาะสม
มีบุคลิกกระฉับกระเฉง สามารถให้ความรักกับสุนัขได้ มีเวลาในการดูแลเอาใจใส่ เช่น เล่น แปรงขน ฝึกให้เข้าสังคม เป็นต้น