บทที่ 1 บทนำ
1.1.แนวคิด ที่มา และความสำคัญ
จากการกำหนดหัวข้อรายงาน
เรื่องภูมิปัญญาชาวบ้านดิฉันและเพื่อนๆคิดว่าเราน่าจะศึกษาภูมิปัญญาชาวบ้านที่เกี่ยวกับการเกษตรและพวกเราจึงนำภูมิปัญญาชาวบ้านเรื่องการเพาะเห็ดมานำเสนอ
เนื่องจากการเพาะเห็ดเป็นการนำภูมิปัญญาชาวบ้านกับวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เข้าด้วยกันและผลผลิตที่ได้สามารถนำมาทำเป็นอาหารได้หลายเมนู
แถมการเพาะเห็ดยังเพิ่มรายได้ให้กับชาวบ้านหรือคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี
1.2.วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาการเพาะเห็ดนางฟ้าโดยภูมิปัญญาชาวบ้าน 2.
เพื่อฝึกทักษะอาชีพให้กับนักเรียนและสามารถนำไปประกอบอาชีพเสริมในอนาคตได้
3. เพื่อสำรวจศึกษาภูมิปัญญาชาวบ้านในหมาบ้านต่างๆ
1.3.ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.ได้รู้วิธีการเพาะเห็ดนางฟ้า
2.ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเห็ดนางฟ้า
1.4.ขอบเขตการศึกษา
เราจะศึกษาแค่การเพาะเห็ดการทำโรงเพาะเห็ดและขั้นตอนการทำก้อนเห็ด
บทที่ 2
เอกสารอ้างอิงที่เกี่ยวข้อง
เอกสารอ้างอิงที่เกี่ยวข้อง
2.1.ความสำคัญของเพาะเห็ดนางฟ้า
การเพาะเห็ดนางฟ้าเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านอย่างหนึ่งเนื่องจากการเพาะเห็ดสามารถเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้เพาะและยังสามารถนำมาประกอบอาหารภายในครัวเรือนได้การเพาะเห็ดส่วนใหญ่ในหมู่บ้านนิยมทำกันเป็นโรงขนาดเล็กเพื่อสำหรับการประกอบอาหารในครัวเรือนเท่านั้นม่นิยมทำเป็นโรงขนาดใหญ่เพื่อการค้าขายโดยเฉพาะ2.2.ข้อมูลเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีของการเพาะเห็ดนางฟ้า
การเพาะเห็ดจะต้องใช้น้ำเชื้อในการเพาะที่สำคัญในขณะที่ทำการเพาะต้องล้างมือด้วยแอลกอฮอล์และห้ามฉีดน้ำหอมหือทาแป้งฝุ่นเพาะเห็ดแพ้
และในการเพาะเห็ดควรอยู่ในที่ที่มีความชื้นและอาการถ่ายเทสะดวก โรงเพาะเห็ดควรทึบแสงแต่ต้องมีแสงผ่านเล็กน้อยและควรมีความชื้น
2.3.ความรู้เกี่ยวกับเห็ดนางฟ้า
2.3.1.เห็ดนางฟ้า
เห็ดนางฟ้ามักจะพบตามธรรมชาติบริเวณตอไม้เนื้ออ่อนที่กำลังผุ ในแถบเมืองแจมมู
บริเวณเชิงเขาหิมาลัย มีรูปร่างลักษณะคล้ายคลึงกับเห็ดนางรม และเห็ดเป๋าฮื้อ
แต่จะมีสีอ่อนกว่า และมีครีบอยู่ชิดกันมากกว่า ด้านบนของดอกจะมีสีนวลๆ
ถึงสีน้ำตาลอ่อน ดอกเห็ดนางฟ้าจะมีขนาดตั้งแต่ 5-14 เซ็นติเมตร
และจะมีน้ำหนักอยู่ระหว่าง 30-120 กรัมเห็ดนางฟ้ามีรูปร่างลักษณะคล้ายคลึงกับเห็ดนางรม
เห็ดทั้งสองชนิดนี้จัดอยู่ในวงศ์ (family) เดียวกัน ชื่อ “เห็ดนางฟ้า” เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นในเมืองไทย
คนไทยบางคนเรียกว่าเห็ดแขก เนื่องจากมีผู้พบเห็นเห็ดนี้ครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย
พบขึ้นตามธรรมชาติบนตอไม้เนื้ออ่อนที่กำลังผุ ในแถบเมืองแจมมู (Jammu) บริเวณเชิงเขาหิมาลัย ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Pleurotussajor-caju
(Fr.) Singer
เห็ดนางฟ้าถูกนำไปเลี้ยงในอาหารวุ้นเป็นครั้งแรกโดย Jandaikในปี ค.ศ. 1947 ต่อมา Rangaswamiและ Nadu แห่ง Agricultural University,
Coimbattoreในอินเดียเป็นผู้นำเชื้อบริสุทธิ์ของเห็ดนางฟ้าเข้ามาฝากไว้ที่American
Type Culture Collection (ATCC) ในอเมริกาเมื่อปี ค.ศ. 1975 ได้ทราบว่าประมาณปี ค.ศ. 1977 ทางกองวิจัยโรคพืช
กรมวิชาการเกษตร เป็นผู้นำเชื้อจาก ATCC เข้ามาประเทศไทยเพื่อทดลองเพาะดู
ปรากฏว่าสามารถเจริญได้ดีอีกสายพันธุ์หนึ่ง
เป็นเห็ดที่มีผู้นำเข้ามาจากประเทศภูฐาน มาเผยแพร่แก่นักเพาะเห็ดไทย
ได้มีการเรียกชื่อเห็ดนี้ว่า เห็ดนางฟ้าภูฐาน
มีหลายสายพันธุ์ซึ่งชอบอุณหภูมิที่แตกต่างกัน บางพันธุ์ออกได้ดีในฤดูร้อน
บ้างพันธุ์ออกได้ดีในฤดูหนาว เป็นที่นิยมมาเพาะเป็นการค้ากันมากลักษณะของดอกเห็ดนางฟ้า
มีลักษณะคล้ายกับดอกเห็ดเป๋าฮื้อ และดอกเห็ดนางรม เมื่อเปรียบเทียบกับเห็ดเป๋าฮื้อ
ดอกเห็ดนางฟ้าสีจะอ่อนกว่า และมีครีบอยู่ชิดกันมากกว่า
เห็ดนางฟ้าสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นนานได้หลายวัน เช่นเดียวกับเห็ดเป๋าฮื้อ
เนื่องจากเห็ดชนิดนี้ไม่มีการย่อตัวเหมือนกับเห็ดนางรม ด้านบนของดอกจะมีสีนวลๆ
ถึงสีน้ำตาลอ่อน ในอินเดียดอกเห็ดมีขนาดตั้งแต่ 5 – 14 เซนติเมตร
และจะมีน้ำหนักอยู่ระหว่าง 30 – 120 กรัม
เห็ดนางฟ้ามีรสอร่อย เวลานำไปปรุงอาหารจะมีกลิ่นชวนรับประทาน
เห็ดชนิดนี้สามารถนำไปตากแห้ง เก็บไว้เป็นอาหารได้ เมื่อจะนำเห็ดมาปรุงอาหาร
ก็นำไปแช่น้ำเห็ดจะคืนรูปเดิมได้
2.3.2.เห็ดนางฟ้าภูฏาน
เห็ดนางฟ้าภูฏาน หรือ เห็ดนางรมภูฏาน (อังกฤษ: Indian
Oyster, Phoenix Mushroom, หรือ Lung Oyster) เป็นเห็ดในตระกูลเห็ดนางรม
รับประทานได้มีต้นกำเนิดในประเทศภูฏาน เกิดขึ้นบนต้นไม้เนื้ออ่อนที่ตายแล้ว
เจริญเติบโตได้เร็วมาก ถูกนำเข้ามาในประเทศไทย โดย อานนท์ เอื้อตระกูล
ขณะที่ดำรงตำแน่งผู้เชี่ยวชาญเห็ดขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ณ
ประเทศภูฏาน ชื่อเรียกทั่วไป : เห็ดนางฟ้า , เห็ดแขก
ชื่อสามัญ : Sarjor-caju Mushroom
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pleurotussajor-caju(Fr.) Sing.
ถิ่นกำเนิด : แถบเทือกเขาหิมาลัย ประเทศอินเดีย
สรรพคุณทางยา : ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ลดไขมันในเส้นเลือด
การนำไปใช้ประโยชน์ : ทำแหนมเห็ด , เห็ดชุบแป้งทอด
, ต้มยำเห็ด ฯลฯ
คุณค่าทางอาหาร(100กรัม) : ให้พลังงาน 35
กิโลแคลอรี่ (โปรตีน2.3กรัม , ไขมัน 0.3 กรัม , คาร์โบไฮเดรต
5.7 กรัม) 2.3.3.เห็ดนางรม
(หรือเรียก"เห็ดนางรมฮังการี")
ก่อนหน้านี้ประมาณ 10 ปี
ไม่ค่อยจะรู้จักเห็ดนางรมที่มีชื่อว่าฮังการีซักเท่าใด
เพราะไม่ด่อยได้มีนักวิชาการโปรโมท เหมือนเห็ดนางฟ้าภูฐาน แต่ด้วยข้อเสีย
ข้อจำกัดของเห็ดนางฟ้าภูฐาน และเห็ดตระกูลนางรม-นางฟ้า สายพันธุ์อื่นๆ
ที่มักเฉพาะเจาะจงกับสภาพอากาศเกินไป เช่น บางพันธุ์ออกดอกดีในฤดูร้อน
ส่วนบางพันธุ์ชอบฝน ในขณะที่บางพันธุ์ชอบหนาว
ทำให้เกษตรกรต้องเดือดร้อนจัดหาเชื้อพันธุ์เห็ดมาเปลี่ยนเพาะ บางทีไม่ทันเปลี่ยนพันธุ์เห็ดเกิดสภาพอากาสเปลี่ยนแปลงกระทันหัน
เช่น ฝน เป็น หนาวจัดทันที ใน 1-2 วัน ก็ทำให้เห็ดที่เพาะไว้
เป็นหมื่นๆ ก้อนไม่ออกดอกเอาดื้อๆ
เกษตรกรหลายฟาร์มจึงแสวงหาพันธุ์เห็ดที่สามารถเพาะได้ตลอดทั้งปี
และเห็ดนางรมฮังการีก็เป็นเห็ดพันธุ์ดีที่เกษตรกรบอกต่อ
ด้วยคุณสมบัติที่ดีหลายประการ ได้แก่
1.ทนหนาว (มีสายพันธุ์เดิมมาจากประเทสฮังการีซึ่งเป็นเมืองหนาว)
ในขณะที่เห็ดชนิดอื่นๆพักตัว แต่เห็ดฮังการีก็สามารถออกดอกได้ดี
และมีสีสวยที่สุดในฤดูนี้ คือมีสีออกน้ำเงิน (จริงๆ)
2.ในฤดูร้อนในขณะที่เห็ดอื่นๆ มีปัญหาเรื่องใบเห็ดม้วนงอ
อันเนื่องมาจากการรบกวนของแมลงหวี่ แต่ดอกเห็ดฮังการรี่ก็ยังให้ดอกสวย
เพราะใบดอกเล็กจึงไม่หงิกงอ ใบดอกไม่แห้ง และมีนำหนักดีกว่าดอกเห็ดอื่นๆ
3.ในฤดูฝน เป็นช่วงเวลาที่เห็ดอื่นๆออกดอกได้ดี
ฮังการีก็ยังออกดอกได้ดี พวงใหญ่เป็นพิเศษ สีขาวบริสุทธิ์
เพียงแต่ต้องลดการรดนำไม่ให้ดอกชื้นเกินไปเพราะเน่าง่าย
4.ลักษณะที่ดีของพวงดอกเห็ดฮังการรีที่ใหญ่ หนึ่งพวงมีมากกว่า 20-30
ดอก ดอกเห็ดแน่น รสชาดหวานเหมือนกินยอดผัก กรอบ นำหนักดี
เริ่มเป็นที่นิยมของผู้บริโภคมากขึ้น เก็บในตู้เย็นได้นานเช่นเดียวกับเห็ดนางฟ้า
ทนต่อการขนส่งเพราะเหนียว ไม่ช้ำง่าย(เมื่อช้ำใบดอกจะไม่เปลี่ยนเป็นสีนำตาล)
5.เส้นใยเจริญเติบโตไว้ เพียง 25-30 วัน
ในก้อนเชื้อเห็ด และพักรอเส้นใยรัดตัว เพียง 5-6 วัน
ก็สามารถเปิดดอกได้ หากเกษตรกรมือใหม่ ที่ริเริ่มทำฟาร์มเพาะเห็ด
หรือแม้แต่เกษตรกรที่ต้องการลดความเสี่ยงจากการเพาะเห็ดตระกูลนางฟ้า-นางรม
ขอแนะนำให้เริ่มต้นที่เห็ดนางรมสายพันธุ์ฮังการีนี้ดีที่สุด
บทที่ 3
วิธีดำเนินงานโครงงาน
วิธีดำเนินงานโครงงาน
3.1.วัสดุ อุปกรณ์
3.1.1.ถุงพลาสติดใส 3.1.2.คอขวดพลาสติด3.1.3.ลำสีการเพาะเห็ด 3.1.4.ยางหนัง
3.1.5.กระดาษหนังสือพิมพ์ 3.1.6.ขี้เลื่อนยางพารา,ฟางข้าว
3.1.7.รำละเอียด
3.1.8.เม็ดข้าวฟ่าง
3.1.9.น้ำเชื้อ
3.1.10.ยิปซัม
3.2.ขั้นตอนการดำเนินงาน
3.2.1.ข้อมูลการสัมภาษณ์
.ผู้ให้สัมภาษณ์ นาง สมบูรณ์ กลิ่นเผ่น อายุ 35 ปี อาศัยอยู่ บ้านวังแรง หมู่ 5 ต.ดอนคา อ.ท่าตะโก
จ.นครสวรรค์
3.2.2.การเพาะเห็ดนางฟ้า
3.2.2.1.ขั้นตอนการเพาะ 1.นำฟางหรือขี้เลื่อนยางพาราใช้ไปในถุงแล้วใส่คอขวด
2.จากนั้นปิดด้วยลำลีเพาะเห็ดตามด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์
3.ใช้ถุงพลาสติดปิดปากและรัดด้วยยางหนัง
4.นำก้อนเชื้อไปนึ่งโดยใส่ไว้ในถังน้ำมันขนาด 200 ลิตรและใส่ก้อนเห็ดไว้ประมาณถังละ 70 – 80 ก้อนและนำน้ำใส่ไว้ใต้ถังและปิดฝาไว้
5.จุดไฟใต้ถังน้ำมันเพื่อนึ่งรอจน 100 องศา
หรือน้ำให้ถังเดือดทิ้งไว้ประมาณ 4 ชั่วโมงแล้วเอาไฟออกจากนั้นทิ้งไว้
1 คืนเพื่อรอให้เย็น
6.ล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เพื่อหยดเชื้อโดยเปิดลำลีออก
7.นำน้ำเชื้อหยดลงไปแล้วใส่อาหารเชื้อคือเม็ดข้าวฟ่างลงไปและปิดไว้อย่างเดิมและพักเชื้อไว้ในที่อาการเย็นและถ่ายเทเป็นเวลา
1 เดือน
8.พอได้หนึ่งเดือนเราจึงเปิดปากออกและเขี่ยเมล็ดข้าวฟ่างออกจากนั้นรดน้ำได้เลย
และอีก 7 วันจะออกดอก
*หมายเหตุ ฟางจะออกดอกถี่มากกว่าแต่ใช้ได้ไม่นาน
ขี้เลื่อนจะออกดอกช้ากว่าแต่ใช้ได้นาน โรงในการทำเห็ดนางฟ้าต้องมีความชื้นมาก
เชื้อเห็ดนางฟ้าจะแพ้น้ำหอม
3.2.3.การจัดจำหน่ายเห็ดนางฟ้า
กิโลกรัมละ 80 บาท ราคาส่งอยู่ที่ กิโลกรัมละ 60
บาท การขายโดยส่วนใหญ่จะขายภายในหมู่บ้าน
3.2.4.ประโยชน์ของภูมิปัญญา
เห็ดนางฟ้าสามารถนำไปประกอบอาหารต่างๆ เช่น เห็ดนางฟ้าทอดกรอบ
ต้มยำใส่เห็ดนางฟ้า หรือจะผัดก็ได้
และอาหารอื่นๆอีกมากมายที่เห็ดนางฟ้าสามารถนำไปประกอบอาหารได้
บทที่ 4
ผลการดำเนินงานโครงงาน
ผลการดำเนินงานโครงงาน
4.1.ผลการเพาะเห็ดนางฟ้า
การเพาะเห็ดนางฟ้าจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยต่างๆ เช่น อุณหภูมิ น้ำเชื้อ ความชื้น ความสะอาด และระยะเวลา เป็นต้น การใช้ฟางทำจะออกดอกถี่มากกว่าแต่ใช้ได้ไม่นานและมีต้นทุนต่ำ ส่วนการใช้ ขี้เลื่อนจะออกดอกช้ากว่าแต่ใช้ได้นานซึ่งจะมีต้นทุนที่สูงและขี้เลื่อนที่ใช้ต้องเป็นขี้เลื่อนจากไม้ยางพาราส่วนโรงในการทำเห็ดนางฟ้าต้องมีความชื้นมาก เชื้อเห็ดนางฟ้าจะแพ้น้ำหอมควรให้เห็ดอยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทและมีแสงพอดีไม่แจ้งเกินไปและเห็ดนางฟ้าภูฏานจะเหมาะกับการทำต้มเห็ดเนื่องจากมีขนาดใหญ่ ส่วนเห็ดนางฟ้าฮังการีจะเหมาะกับการทอกกรอบเนื่องจากมีขนาดเล็กและคนภาคอีสานจะนิยมเอาเห็ดนางฟ้าไปราบ
บทที่ 5
สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน
สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน
5.1.การดำเนินงานจัดทำโครงงาน
5.1.1.วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1.เพื่อศึกษาการเพาะเห็ดนางฟ้าโดยภูมิปัญญาชาวบ้าน 2. เพื่อฝึกทักษะอาชีพให้กับนักเรียนและสามารถนำไปประกอบอาชีพเสริมในอนาคตได้
3. เพื่อสำรวจศึกษาภูมิปัญญาชาวบ้านในหมาบ้านต่างๆ
5.2.2.วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ
1.ถุงพลาสติดใส 2.คอขวดพลาสติด3.ลำสีการเพาะเห็ด 4.ยางหนัง
5.กระดาษหนังสือพิมพ์ 6.ขี้เลื่อนยางพารา,ฟางข้าว
7.รำละเอียด
8.เม็ดข้าวฟ่าง
9.น้ำเชื้อ
10.ยิปซัม
5.2.สรุปผลการดำเนินงาน
การเพาะเห็ดนางฟ้าจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยต่างๆ เช่น อุณหภูมิ
น้ำเชื้อ ความชื้น ความสะอาด และระยะเวลา เป็นต้น
การใช้ฟางทำจะออกดอกถี่มากกว่าแต่ใช้ได้ไม่นานและมีต้นทุนต่ำ ส่วนการใช้
ขี้เลื่อนจะออกดอกช้ากว่าแต่ใช้ได้นานซึ่งจะมีต้นทุนที่สูงและขี้เลื่อนที่ใช้ต้องเป็นขี้เลื่อนจากไม้ยางพาราส่วนโรงในการทำเห็ดนางฟ้าต้องมีความชื้นมาก
เชื้อเห็ดนางฟ้าจะแพ้น้ำหอมควรให้เห็ดอยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทและมีแสงพอดีไม่แจ้งเกินไปและเห็ดนางฟ้าภูฏานจะเหมาะกับการทำต้มเห็ดเนื่องจากมีขนาดใหญ่
ส่วนเห็ดนางฟ้าฮังการีจะเหมาะกับการทอกกรอบเนื่องจากมีขนาดเล็กและคนภาคอีสานจะนิยมเอาเห็ดนางฟ้าไปราบ
5.3.ข้อเสนอแนะ
5.3.1.ข้อเสนอแนะทั่วไป
อยากให้มีการจัดทำโครงงานเกี่ยวกับภูมิปัญญาชาวบ้านด้านการประกอบอาชีพ
5.3.2.ปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการพัฒนา
การรวมตัวกันเพื่อเดินทางไปยังจุดหมายซึ่งนักเรียนบางคนบ้านอยู่ไกลจึงเป็นปัญหาต่อเวลาในการออกเดินทาง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น